เดินผ่านร้านแบรนด์เนมในห้างสรรพสินค้าทีไรอยากจะเรียกให้เพื่อนดูเสียหน่อยว่าเสื้อตัวนั้นสวยจัง แต่กลับไม่กล้าพูดเพราะกลัวจะออกเสียงชื่อแบรนด์ผิด
ครั้นจะโพสต์ลงเฟสบุ๊กอ้อนแฟนก็ขอเขียนชื่อแบรนด์ภาษาอังกฤษไปเลยแล้วกัน ลดความเสี่ยงสะกดชื่อภาษาไทยผิดอีกกลัวขายหน้า แน่นอนว่าไม่ใช่แค่คุณคนเดียวแต่ยังมีเพื่อนอีกมากที่เจอปัญหาเดียวกัน วันนี้ผมลิสต์เหล่าแบรนด์แฟชั่นชื่อดังและตัวสะกด (ตัวเขียน) ภาษาไทยที่แต่ละแบรนด์ใช้อย่างเป็นทางการ ในประเทศไทยโดยเฉพาะมาให้เซฟเก็บเป็นพจนานุกรมแฟชั่นฉบับมินิ เข้าใจง่ายและเป็นแบรนด์ที่เห็นและรู้จักกันอย่างดี
- 1. Chanel – ชาเนล (คำว่า “ชาแนล” ยังคงเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันแต่หากต้องการจะเอ่ยถึงชื่อที่ใช้จดทะเบียนการค้าของแบรนด์อย่างเป็นทางการจะเหลือเพียง “ชาเนล” เท่านั้น)
- 2. Louis Vuitton – หลุยส์ วิตตอง
- 3. Fendi – เฟนดิ
- 4. Christian Dior – คริสเตียน ดิออร์
- 5. Prada – ปราด้า
- 6. Miu Miu – มิว มิว
- 7. Roger Vivier – โรเฌร์ วิวิเยร์
- 8. Audemars Piguet – โอเดอมาร์ ปิเกต์
- 9. Chopard – โชปา
- 10. Cartier – คาร์เทียร์
- 11. Diane Von Furstenberg – ไดแอน วอน เฟอร์สเต็นเบิร์ก
- 12. Comme Des Garçons – กอมม์ เดส์ การ์ซงส์
- 13. Givenchy – จีวองชี
- 14. Hermès – แอร์เมส
- 15. Lanvin – ลองแวง
- 16. Longchamp – ลองฌอมป์
- 17. Longines – ลองจินส์
- 18. Bulgari – บูลการี
- 19. Coccinelle – ค็อกชิเนลเล่
- 20. Furla – ฟูร์ล่า
- 21. Piaget – เพียเจต์
- 22. Van Cleef & Arpels – แวน คลีฟ & อารเปลส์
- 23. Valentino – วาเลนติโน
- 24. Burberry – เบอร์เบอรี่
- 25. Christian Louboutin – คริสเตียน ลูบูแตง
- 26. Salvatore Ferragamo – ซัลวาทอเร่ เฟอร์รากาโม
- 27. Balmain – บัลแมง
- 28. Loewe – โลเอเว่
- 29. Celine – เซลีน (แม้จะถูกเอาอักซองออกไปในยุคของ Hedi Slimane แต่ชื่อแบรนด์ในภาษาไทยยังคงสะกดเหมือนเดิม)
- 30. Bottega Veneta – โบเตก้า เวเนต้า
- 31. Balenciaga – บาเลนเซียก้า

Chanel – ชาเนล

Celine – เซลีน

Miu Miu – มิว มิว
ทีนี้เพื่อนๆทุกคนก็จะได้เรียกแบรนด์ที่ตัวเองอยากอ้อนแฟนหรือจะพูดโชว์เพื่อนให้ถูกละนะครับ ?
#สายแฟที่แท้ทรู #ทำอะไรก็ได้กูไม่ได้ขอตังค์ใคร